การตีเส้นจราจรให้ปลอดภัย สวยงาม ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

การตีเส้นจราจรหรือการตีเส้นถนน คือการสร้างเส้นหรือสัญลักษณ์เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดขอบเขต ควบคุมทิศทางและจำแนกประเภทการใช้งานรูปแบบต่างๆ บนผิวทาง โดยประโยชน์ของการตีเส้นจราจรนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการตีเส้นจราจรสำหรับขับขี่ยานพาหนะด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถประจำทาง หรือเพื่อระบุข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ บนท้องถนน อาทิ หยุด ห้ามแซง ลดความเร็ว รวมถึงการบ่งบอกเส้นทางอื่นที่ใช้ในวัตถุประสงค์อื่น เช่น เส้นทางสำหรับเดินเท้าหรือข้ามถนน ซึ่งการตีเส้นจราจรที่ชัดเจนไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคคลทั่วไป แต่สามารถทำให้ผู้คนสามารถใช้รถใช้ถนนร่วมกันได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย!

ตัวอย่างงานตีเส้นจราจร

วัสดุที่ใช้ในการตีเส้นจราจรต้องเลือกอย่างไร?

การเลือกวัสดุที่ใช้ในการตีเส้นจราจรนั้นสำคัญมากๆ เนื่องจากจะกระทบต่อทั้งความสวยงาม ประโยชน์ในการใช้สอย ความปลอดภัย และความทนทาน โดยจะต้องดูที่ปัจจัยดังนี้

  • ต้องมีคุณภาพดี
  • สะท้อนแสงได้ดีในตอนกลางคืน
  • สามารถป้องกันเชื้อราได้ 
  • อายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่สึกหรอง่าย
  • มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อแรงกระแทก
  • เกาะติดกับผิวจราจรหรือผิวถนนได้เป็นอย่างดี

วัสดุที่ใช้ในการตีเส้นจราจรมีอะไรบ้าง?

  • สีจราจร (Traffic Paint) ตาม มอก.415-2548 คือสีที่ไม่ผสมลูกแก้ว ใช้ในการจัดทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทางคอนกรีตหรือยางมะตอยโดยใช้วิธีการพ่น
  • สีเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic Paint) ตาม มอก.542-2549 เป็นสีสะท้อนแสงผสมลูกแก้ว ใช้ในการจัดทำเครื่องหมายจราจรด้วยวิธีการพ่น ปาดลาก หรืออัดรีด
  • ลูกแก้ว (Glass Bead) ตาม มอก.543-2550 มีลักษณะเม็ดกลม โปร่งแสง สามารถสะท้อนแสงได้ ซึ่งช่วยให้เห็นเครื่องหมายจราจรได้ชัดเจนในตอนกลางคืน
  • วัสดุรองพื้น (Tack Coat or Primer) เป็นน้ำยาเคมีที่ใช้ในการพ่นเพื่อช่วยให้วัสดุทำเครื่องหมายจราจรและผิวทางยึดติดกันได้แน่นมากขึ้น

ประเภทของเครื่องตีเส้นจราจร

เครื่องตีเส้นจราจรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องแบบพ่นและเครื่องแบบอัดรีดหรือปาดลาก โดยลักษณะการใช้งานขึ้นอยู่กับประเภทของสีที่ใช้ในการตีเส้นถนน ซึ่งประกอบด้วยสีจราจรและสีเทอร์โมพลาสติก

เครื่องตีเส้นจราจรด้วยสีจราจร

เครื่องตีเส้นจราจรที่ใช้สีแบบนี้มีอยู่ประเภทเดียวเท่านั้น คือ เครื่องแบบพ่น โดยเครื่องนี้ต้องควบคุมความเร็วตามแนวยาวได้ไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถตีเส้นจราจรชนิดเส้นประ ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 3 เมตร เว้น 9 เมตร โดยใช้งานได้ติดต่อกันได้ไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร  นอกจากนี้ หัวฉีดพ่นต้องปรับแต่งตีเส้นจราจรตั้งแต่ขนาด 10-30 เซนติเมตร โดยเว้นระยะเส้นได้อย่างแม่นยำและเส้นขอบคมอย่างสม่ำเสมอด้วย

เครื่องตีเส้นจราจรด้วยสีเทอร์โมพลาสติก

  1. เครื่องตีเส้นแบบพ่น: ใช้วิธีการทำงานแบบเดียวกับเครื่องตีเส้นแบบพ่นสำหรับสีจราจร
  1. เครื่องแบบอัดรีดหรือปาดลาก:โดยการทำงานของเครื่องต้องสามารถควบคุมความเร็วตามแนวยาวได้ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมถึงตีเส้นจราจรชนิดเส้นประ ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 3 เมตร เว้น 9 เมตร อีกทั้งต้องใช้งานได้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร
ตัวอย่างงานตีเส้นถนน

ขั้นตอนการตีเส้นจราจร

ข้อควรปฏิบัติก่อนการเริ่มงานตีเส้นจราจรนั้นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน โดยปกติแล้วจะเริ่มจากผู้รับจ้างต้องส่งแผนการทำงาน บัญชีเครื่องจักรกลและเครื่องมือ ส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ รวมถึงแจ้งยี่ห้อและผู้ผลิตวัสดุที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานให้ผู้ว่าจ้าง และส่งสำเนาใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก. พร้อมสำเนาใบรับรองระบบคุณภาพด้วย นอกจากนี้ต้องแจ้งปริมาณวัสดุที่ต้องการใช้ตามที่ระบุในสัญญา และส่งสำเนาต้นฉบับใบกำกับภาษี (คู่ฉบับจริง) ที่มีหนังสือแต่งตั้งและเลขที่สัญญาให้ผู้ว่าจ้าง เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องและใช้เป็นหลักฐานตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน หลังจากผ่านการอนุมัติโครงการจากผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างสามารถเริ่มปฏิบัติงานได้ตามวิธีการตีเส้นจราจรเพื่อให้ได้มาตรฐานกรมทางหลวง ดังนี้

1. การเตรียมผิวทาง

ต้องไม่ลงสีทับกับเส้นจราจรเดิมที่ชำรุด โดยผิวจราจรที่จะทำการตีเส้นจราจรนั้นต้องสะอาดและแห้ง ห้ามตีเส้นจราจรบนผิวทางที่เปียกหรือชื้นโดยเด็ดขาด อีกทั้งควรเลือกวัสดุรองพื้นให้เหมาะกับผิวจราจรที่จะทำการตีเส้นถนนด้วย

2. การเตรียมวัสดุ

สำหรับส่วนของงานสีจราจร ผู้รับจ้างต้องกวนสีจราจรให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนทำการตีเส้นจราจรเพื่อเนื้อสีจะได้ยึดติดกันเป็นอย่างดี สำหรับส่วนของงานสีเทอร์โมพลาสติก ผู้ว่าจ้างต้องใช้สีที่ผ่านกระบวนการหลอมเหลวแล้วภายในเวลา 6 ชั่วโมงเท่านั้น และต้องหลอมสีเทอร์โมพลาสติกให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยการกวนสีอยู่ตลอดเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อสีผิดเพี้ยน อีกทั้งต้องกำหนดอุณหภูมิให้เหมาะสมโดยจุดหลอมเหลวของเทอร์โมพลาสติกอยู่ที่ช่วงประมาณ 180-220 องศาเซลเซียส หากร้อนเกินไป สีอาจเกิดการแตกเปราะ และหากเย็นเกินไปเทอร์โมพลาสติกจะเกิดการแข็งตัว

3. การทำงาน

ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ตามข้อกำหนดคุณสมบัติและตามปริมาณที่กำหนด หากทำมากกว่า 1 ชั้นขึ้นไป ต้องรอให้วัสดุแข็งตัวก่อน

4. โรยลูกแก้ว

เมื่อทำการพ่น รีด ปาดสีจราจรหรือสีเทอร์โมพลาสติกเรียบร้อยแล้ว ให้โรยลูกแก้วทับบนหน้าผิวที่ยังไม่แข็งตัวทันที โดยอัตราโรยลูกแก้วต้องไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อตารางเมตร

5. การควบคุมความหนาของเครื่องหมายจราจร

โดยความหนาของสีจราจรเมื่อแห้งต้องหนาไม่น้อยกว่า 0.2 มิลลิเมตร (ความหนาฟิล์มเปียก 0.38 มิลลิเมตร) และความหนาของสีเทอร์โมพลาสติกกรณีใช้วิธีพ่น เมื่อแห้งต้องหนาไม่น้อยกว่า 2.0 มิลลิเมตร แต่หากใช้วิธีรีดหรือปาด เมื่อแห้งต้องหนาไม่น้อยกว่า 3.0 มิลลิเมตร ซึ่งก่อนเริ่มงานต้องมีการทดลองตีเส้นในแปลงทดลองเพื่อนำผลการทดลองที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง

สรุปการตีเส้นจราจรตามแบบมาตรฐานกรมทางหลวง

ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการตีเส้นจราจรอยู่เสมอ ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ในการจัดทำ ประเภทการตีเส้นจราจรที่เหมาะสมกับงาน รวมถึงวิธีการที่ใช้ในการดำเนินการ อีกทั้งต้องรับผิดชอบในการกำหนดขนาดและลักษณะของเส้นจราจรให้เป็นไปตามมาตรฐานการจราจรบนผิวทาง เพื่อให้ได้เครื่องหมายจราจรตามคุณลักษณะที่เหมาะสม และสามารถผลิตงานให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานกรมทางหลวง

ที่ VASKO เรารับงานตีเส้นจราจรด้วยสีเทอร์โมพลาสติกมาตรฐานกรมทางหลวง สีสดใส ติดทนแน่นได้คุณภาพ พร้อมรับลาดยางมะตอย ทำถนนคุณภาพดีที่สุด กับทีมงานที่คุณภาพดีที่สุด ประสบการณ์กว่า 30 ปี เจ้าของดูแลงานเองทั้งหมด สามารถคุยได้โดยตรง ติดต่อเราได้ที่ไลน์   @Vaskoccc (มี @ ด้านหน้า) หรือโทร 089-7713945 ชาคร

เส้นจราจรโดยทั่วไปมีขนาดความกว้าง 10 เซนติเมตร ตามมาตรฐานกรมทางหลวงและกระทรวงคมนาคมฉบับปีพ.ศ. 2533 ยกเว้นจะระบุไว้เป็นอย่างอื่นตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะของเส้นจราจรตามมาตรฐานกรมทางหลวงและกระทรวงคมนาคมฉบับปีพ.ศ. 2533 แบ่งออกเป็น 7 แบบ ดังนี้

  1. เส้นประ (Broken Line) คือเส้นที่ทอดไปตามความยาวโดยไม่ติดต่อกัน
  2. เส้นทึบ (Solid Line) คือเส้นที่ทอดไปตามความยาวอย่างต่อเนื่อง
  3. เส้นประคู่กับเส้นทึบ เป็นเส้นคู่ขนานไปกับเส้นทึบ
  4. เส้นทึบคู่ คือเส้นทึบสองเส้นขนานกันไปตลอดความยาว
  5. เส้นประกว้าง คือเส้นประที่มีความกว้างมากกว่าเส้นประธรรมดาสองเท่า
  6. เส้นประถี่ เป็นเส้นที่มีความยาวเท่าเส้นประธรรมดาแต่กำหนดความยาวและการเว้นช่องที่แตกต่างกันไป
  7. ลักษณะอื่นๆที่ความหมายและลักษณะการใช้งานที่เฉพาะ

ติดต่อสอบถามราคา


สอบถามราคางานลาดยางมะตอย ยางมะตอย ผสมร้อน(hotmix) งานปูถนนได้แอสฟัลท์ ได้ที่ 089-7713945 ชาคร @Vaskoccc (มี @ ด้านหน้า) ราคาพิเศษโดยเจ้าของแพล้นท์โดยตรงครับ งานเล็ก งานใหญ่ เราทำหมด!!

ที่ตั้งบริษัท

หรือฝากข้อความที่นี่